วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559


ประวัติ
Uniqlo  ในภาษาอังกฤษอ่านว่า ยู-นิ-โคล่ เป็นผู้ออกแบบ ผู้ผลิต และผู้ค้าปลีก เสื้อผ้าลำลองสัญชาติญี่ปุ่น โดยแต่เดิมนั้นบริษัทเป็นเพียงแผนกใน บริษัท Fast Retailing จำกัดเท่านั้น ซึ่งต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.. 2005 บริษัทยูนิโคลก็ได้ถูกปรับเปลี่ยนโครงสร้าง มาเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดแยกต่างหาก และถูกเรียกว่า "Uniqlo Co., Ltd." หรือ บริษัทยูนิโคล จำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนในส่วนแรกกับตลาดหลักทรัพย์ของโตเกียว(ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวในส่วนแรก คือ บริษัทขนาดใหญ่)
Uniqlo เป็นห่วงโซ่การค้าปลีกเสื้อผ้าชั้นนำของญี่ปุ่น ทั้งในด้านของยอดขาย และผลกำไร นอกจากนี้ บริษัท ยังดำเนินกิจการใน จีน ฝรั่งเศส ฮ่องกง มาเลเซีย รัสเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
จุดเริ่มต้นจาก บริษัท โอโงริ โชจิ ได้ก่อกำเนิดขึ้น ใน เมืองอูเบะ จังหวัดยามากูชิ ในเดือนมีนาคม ปี 1949ซึ่งก่อนหน้านั้นได้ดำเนินกิจการร้านจำหน่ายเสื้อผ้าผู้ชาย ในยี่ห้อ "Men's Shop OS" ในเดือนมิถุนายน ปี 1984 โอโรงิ โชจิ ได้เปิดร้านเสื้อผ้าลำลองสำหรับชาย และหญิง บนถนนฟูกุโระ มาชิ ย่านนากากุ เมืองฮิโรชิม่า ภายใต้ชื่อ "Unique Clothing Warehouse"(ยูนิค คลอธติ้ง แวร์เฮาส์) ก่อนที่แบรนด์ดังกล่าวจะค่อยๆ หดตัวลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับการถือกำเนิดของชื่อ "Uniqlo" (ยูนิโคล่) จากนั้นในเดือนกันยายน ปี 1991 ชื่อบริษัทได้ถูกเปลี่ยนจาก "Ogori Shoji" (โอโงริ โชจิ) เป็น "Fast Retailing"(ฟาส์ท รีเทลลิ่ง) และในเดือนเมษายน ปี 1994 ยูนิโคล่ก็มี มากกว่า 100 ร้าน ทั่วญี่ปุ่น
1997 กลยุทธ์ SPA
ปี 1997 บริษัทได้รับเอากลยุทธ์การผลิตเสื้อผ้าจาก "Gap" บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า"SPA" มาใช้ ซึ่งนั่นหมายถึงบริษัทสามารถผลิตเสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง และยังจำหน่ายในร้านค้าของตนเองได้อีกด้วย ยูนิโคล่ เริ่มทำการเอ้าท์ซอร์สการผลิตเสื้อผ้าจากจีน ประเทศที่ซึ่งมีแรงงานราคาถูก ซึ่งนั่นก็เป็นการปรับเปลี่ยนที่ดีขึ้นขององค์กรอีกอย่างหนึ่ง  ประกอบกับญี่ปุ่นกำลังประสบกับภาวะความตกต่ำทางเศรษฐกิจในขณะนั้น ทำให้สินค้าราคาประหยัดแต่ทว่ามีคุณภาพดีได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ขณะที่กลยุทธ์การโฆษณาของบริษัทได้รับการพิสูจน์ว่าเห็นผลได้จริง
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1998 ยูนิโคล่ก็ได้เปิดร้านในย่านฮาราจูกุ ย่านที่เป็นที่นิยมในโตเกียวแห่งแรก และร้านก็ได้แพร่กระจายไปยังเมืองใหญ่ทั่วญี่ปุ่น ใน ปี 2001 ยอดขาย และกำไรขั้นต้นก็ได้ถึงจุดสูงสุดจุดใหม่ และมีมากกว่า 500 ร้านค้าปลีกในญี่ปุ่น  ยูนิโคล่ตัดสินใจที่จะขยายกิจการไปยังต่างประเทศ และได้ก่อตั้ง Fast Retailing (jiangsu) Apparel Co., Ltd. (ฟาส์ท รีเทลลิ่ง เจียงซู แอปปาเรล จำกัด)ขึ้นในประเทศจีน และในปี 2002 ก็ได้เปิดร้านค้าภายใต้แบรนด์ยูนิโคล่ในเซี่ยงไฮ้เป็นแห่งแรก และได้เปิดร้านยูนิโคล่ในต่างประเทศอีก 4 สาขาแรก ที่ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ แต่ยอดขายในประเทศอังกฤษไม่เป็นไปด้วยดีนัก และเกิดภาวะสินค้าล้นคลังในญี่ปุ่น ในปี 2002 และ 2003กำไรของยูนิโคล่ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว ในปี 2004 บริษัทได้เริ่มร่วมธุรกิจกับนิตยสารแฟชั่นของญี่ปุ่น และจ้างคนผู้ที่มีชื่อเสียง เช่น Norika Fujiwara(โนริกะ ฟูจิวาระ) ได้ปรากฏตัวในโฆษณาของยูนิโคล่ ยูนิโคล่ได้ร่วมงานกับนักออกแบบใหม่หลายคน ซึ่งผลที่ตามมาคือกำไรเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันยูนิโคล่ก็หมดหวังกับสาขาที่อยู่ลอนดอนเช่นกัน ซึ่งการร่วมธุรกิจกับบริษัทแฟชั่นของฟาส์ท รีเทลลิ่ง ก็ช่วยทำให้บริษัทฟื้นคืนกลับมาได้ดีดังเช่นเดิม

ในปี 2005 ก็ได้เห็นการขยายตัวของยูนิโคล่ในต่างประเทศมากขึ้น ด้วยการเปิดร้านค้าในประเทศสหรัฐฯ(นิว ยอร์ก) ฮ่องกง(จิมซาจุ่ย) และเกาหลีใต้(โซล) การขยายตัวของแบรนด์ในเกาหลีใต้ ส่วนหนึ่งมาจากที่พวกเขาร่วมทุนกับ Lotte(ล็อตเต้) ใน ปี 2006 ยูนิโคล่ ถูกพิจารณาให้เข้าไปขยายตลาดในยุโรป หลังจากที่เปิดตัวในสหราชอาณาจักรแล้วมีกำไรที่คงที่ เมื่อสิ้นปี 2005 นอกเหนือจากการถือครองในต่างประเทศแล้ว ยูนิโคล่ยังมีร้านค้าประมาณ 700 ร้านในญี่ปุ่น  ฟาส์ท รีเทลลิ่ง ได้เซ็นสัญญาให้คำปรึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ยูนิโคล่กับ แฟชั่นดีไซเนอร์ Jil Sander(จิล แซนเดอร์) ในเดือน มีนาคม ปี 2009และ Shiatzy Chen(ซย่าจือ เฉิน) ได้รับการทาบทามจากยูนิโคล่ให้ผลิตแคปซูลคอลเล็กชั่น ที่พร้อมจะเปิดตัวในเดือน พฤศจิกายน ปี 2010 ในขณะที่ร้านยูนิโคล่ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียนอกญี่ปุ่นได้เปิดตัวในกรุงกัวลาลัมเปอร์ในเดือนเดียวกัน

ในวันที่ 2 เดือนกันยายน ปี 2009บริษัทฟาส์ท รีเทลลิ่ง จำกัด  ได้ประกาศว่า บริษัทจะกำหนดเป้าหมายยอดขายประจำปีไว้คือ  5 ล้านล้านเยน(ประมาณ หกหมื่นหนึ่งพันสองร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐ) และมีกำไรก่อนหักภาษีจากการดำเนินงาน 1 ล้านล้านเยน(หนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ในปี 2020 ซึ่งนี่หมายถึงบริษัทมีเป้าหมายที่จะกลายเป็น SPAที่ใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องร้อยละ 20% ต่อ ปี แบ่งเป็น 1 ล้านล้านเยนจากธุรกิจยูนิโคล่ในญี่ปุ่น 3 ล้านล้านเยนจากธุรกิจระหว่างประเทศของตน และ 1ล้านล้านเยน จากธุรกิจแบรนด์ญี่ปุ่น และแบรนด์ระดับโลก เป้าหมายธุรกิจระหว่างประเทศของบริษัท แบ่งเป็น 1 ล้านล้านเยน ในจีน 1ล้านล้านเยนในประเทศเอเชียอื่นๆ และ 1 ล้านล้านเยนในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

Product
Uniqlo เป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าลำลองคุณภาพดี ที่มีความเป็นแฟชั่นนำสมัย เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ซึ่งได้แก่ เสื้อ กางเกง กระโปรง ชุดชั้นใน ชุดลำลอง และเครื่องแต่งกายอื่นๆ 

กลยุทธ์ทางการตลาด
1. สินค้าดีมีคุณภาพ Design เรียบง่าย เหมาะกับทุกๆคนในทุกๆโอกาส
2. ราคาถูก เมื่อเทียบกับ แบรนด์อื่นๆ โดยทั่วไป ในระดับ คุณภาพเดียวกัน

เสื้อผ้าของ Uniqlo นั้นออกแบบมาได้อย่างดี มีการควบคุมการผลิต และ วัสดุที่ใช้อย่างดี ที่สำคัญ ออกแบบทีเดียว ใช้ทั่วโลก ทำให้ต้นทุนอยู่ในราคาที่ดีกว่าแบรนด์อื่น ในคุณภาพเดียวกัน แต่ยังมีกลยุทธ์ย่อยๆอีกหลายอย่างที่ทำและทำให้คนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมไปโดยไม่รู้ตัว 
1. เสื้อผ้า มีครบสำหรับทุกเพศทุกวัย 
2. เสื้อผ้าครบทุกการใช้งาน ชุดทำงาน, ชุดอยู่บ้าน, ชุดลำลอง, ชุดกีฬา, ชุดชั้นใน 
3. เน้นในการแนะนำและสร้างประโยชน์จากการใช้งานของเสื้อผ้า ที่ไม่ได้เน้นแค่ความสวยงาม เช่น เสื้อผ้าสำหรับหน้าหนาว, เสื้อผ้าสำหรับหน้าร้อน หรือ เสื้อกีฬา ที่เน้นเรื่องการใช้งาน การระบายอากาศ ความยืดหยุ่นต่างๆ
4. มีการทำ Brand ย่อยๆ สำหรับแต่ละสินค้า เช่น Heattech เสื้อผ้าหน้าหนาว, Airism เสื้อผ้าหน้าร้อน, UT เป็นเสื้อยืดที่มีหลาย Collection
5. เปลี่ยน Collection ตามฤดูกาลไปเรื่อยๆ และ เมื่อเปลี่ยนแล้ว ของเก่าก็จะไม่มีขาย ทำให้ลูกค้าต้องคอยติดตามอย่างต่อเนื่องว่า เสื้อผ้าแต่ละฤดูเป็นอย่างไรบ้าง เพราะถ้าหมดแล้วหมดเลย
6. โปรโมชั่น มีทุกสัปดาห์ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยจะดึงเอาสินค้าขายดีหลักๆ มาทำโปรโมชั่น เพื่อดึงลูกค้าแต่ละกลุ่มให้เข้ามาที่ร้านให้บ่อยที่สุด โปรโมชั่นแต่ละครั้งจะมี ครบสำหรับ ผู้ชาย ผู้หญิง และ เด็ก 
7. ออกแบบร้าน ให้โปร่งสบาย เดินแล้วไม่อึดอัด แบ่งสัดส่วนสินค้า ได้เป็นหมวดหมู่ และที่สำคัญ มีการเปลี่ยนที่สินค้าอยู่เรื่อยๆ ทำให้ร้านดูไม่เหมือนเดิม                                                                      8. มีการบริการที่ดี พนักงานมีความกระตือรือร้นในแบบฉบับของพนักงานที่ญี่ปุ่น พนักงานทุกคนมีใจรักการบริการ กระฉับกระเฉงและเป็นมิตร ยิ้มและพูดจาฉะฉานเสียดังฟังชัดตลอดเวลา ทักทายลูกค้าทุกคน ทำให้ลูกค้าที่เดินเข้าไปแล้วรู้สึกสบายเป็นกันเอง 
9. สินค้าเปลี่ยนได้ทุกอย่าง ภายใน 30 วัน ไม่มีข้อแม้ หรือ เงื่อนไขมากมาย เปลี่ยนสาขาไหนก็ได้ ขอแค่คุณยังไม่ตัดป้ายราคา 

Uniqlo มีแผนในการทำธุรกิจ และ มีแผนการตลาดที่ดีมาก โดยสิ่งที่เน้น คือ คุณค่าของสินค้า และ บริการที่จะส่งมอบให้กับลูกค้า Uniqlo ไม่ได้เน้นทำโฆษณา หรือ สร้างแบรนด์โดยการใช้สื่ออะไรมากนัก แต่ Uniqlo สร้างแบรนด์ จากคุณภาพ และ บริการมากกว่า โดยเน้นสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าจากการไปซื้อสินค้า ได้รับบริการดีๆจากพนักงาน และ เมื่อสวมใส่แล้ว มีความพอใจกับคุณภาพและราคาของเสื้อผ้าที่ซื้อมา


Target
1.กลุ่มเด็กอายุ4-12ปี ซึ่งทางแบรนด์จะมีการออกแบบลายบนเสื้อผ้าโดยใช้ตัวการ์ตูนหรือหนังที่วัยเด็กสนใจมาสกรีนบนเสื้อผ้าเด็ก เพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้ากลุ่มเด็กและเสื้อผ้าจะเน้นสีสันและลวดลายที่น่ารักเหมาะสมกับวัยเด็ก
2.กลุ่มเพศชายและหญิง อายุ20-35ปี ทางแบรนด์เน้นการออกแบบเสื้อผ้าที่มีสีเรียบง่ายสามารถใส่ได้ในทุกๆวัน ซึ่งตรงกับกลุ่มของวัยเรียนและวัยทำงาน

Campaign
แคมเปญ “The Science of LifeWear” ของยูนิโคล่
เราแต่งตัวกันทำไม? คำถามล่าสุดจากแคมเปญ The Science of LifeWear ของยูนิโคล่ที่เพิ่งปล่อยออกมาเมื่อไม่นานนี้ สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมการแต่งกายของผู้คนที่มีความคิดและเหตุผลที่แตกต่างกันไป ผ่านภาพยนตร์โฆษณาที่สื่อถึงความมุ่งมั่นของแบรนด์ในการมอบคุณภาพของชิ้นงาน ภายใต้หลักปรัชญา LifeWear ที่สรรค์สร้างนวัตกรรมของเสื้อผ้าท่ามกลางความเป็นสากลในการออกแบบทุกชิ้น
โดยThe Science of LifeWearเป็นการนำเสนอเรื่องราวของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ผ่านภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ พร้อมด้วยสื่อภาพนิ่งในรูปแบบต่างๆ เพื่อจุดประกายให้เกิดการแลกเปลี่ยนทัศนคติที่มนุษย์เรามีต่อเสื้อผ้า พินิจพิเคราะห์ว่าผู้คนใช้ชีวิต ปฏิบัติตัว และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร พร้อมตั้งคำถามผ่านเลนส์ด้วยความใคร่รู้ในแบบวิทยาศาสตร์ว่า เราแต่งตัวกันทำไม?”


ภายในภาพยนตร์ถูกถ่ายทำขึ้นท่ามกลางบรรยากาศสไตล์เมืองในญี่ปุ่น เพื่อสื่อถึงถิ่นกำเนิดและตัวตนแท้จริงของแบรนด์ ลีลา ท่วงทำนองและเนื้อหาของแคมเปญเน้นให้เห็นความกระตือรือร้นของยูนิโคล่ที่มุ่งทำความเข้าใจกับความต้องการของผู้คนทุกหนแห่งในเรื่องเสื้อผ้าทั้งในแง่ของการใช้งานและอารมณ์ความรู้สึก ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์โฆษณาที่เน้นไอเท็มหลักของยูนิโคล่อาทิ ยีนส์ กางเกง   จ็อกเกอร์ เสื้อถัก เสื้อกันหนาวดาวน์ (Ultra-Light Down) และฮีทเท็ค (HEATTECH) ทั้งนี้ช่วงเวลาของแคมเปญจะสอดคล้องกับการออกแคตตาล็อกไลฟ์แวร์สำหรับฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว 2016 ของยูนิโคล่

โดยแคมเปญThe Science of LifeWearนั้นเป็นผลงานที่ยูนิโคล่สร้างสรรค์ขึ้นร่วมกับ Droga5 เอเยนซีโฆษณาระดับโลกจากนิวยอร์กที่คว้ารางวัลต่างๆ มาแล้วมากมาย อาทิ รางวัลเอเยนซีอิสระยอดเยี่ยมแห่งปี (Independent Agency of the Year) จากเทศกาล Cannes Lions International Festival of Creativity ประจำปี 2015 และ 2016 และรางวัลเอเยนซียอดเยี่ยมแห่งปี (Agency of the Year) ประจำปี 2016 ทั้งจากเวที Advertising Age และ Creativity Age
Social Media

Pinterest : เป็นที่แสดงสินค้าจำนวนมากโดยรูปแบบการแสดงจะจัดเป็นโฟลเดอร์ของแต่ละคอลเลคชั่น เช่น Uniqlo Sport Uniqlo Flannel เป็นต้น


Application ใช้สำหรับสั่งสินค้าออนไลน์ ติดตามข่าวสารต่างๆและสามารถทราบที่อยู่ของร้านแต่ละสาขาได้

 Instagram : เป็นการรวบรวมเสื้อผ้าของแบรนด์ในสไตล์ต่างๆและจะมี #uniqlothailand ให้ลูกค้าใส่เสื้อผ้าของ uniqlo ถ่ายรูปลงอินสตาแกรมแล้วแฮชแทกมาเป็นการรีวิวอีกด้วย



Twitter : เป็นช่องทางการอัพเดตข่าวสารและแสดงภาพนางแบบที่สวมใส่ชุดของ uniqlo

Facebook : เป็นช่องทางหลักในการอัพเดตข่าวสารและกิจกรรมต่างๆของแบรนด์ รวมถึงอัพเดตโปรโมชั่นใหม่ อีกทั้งยังมี lookbook ของคอลเลคชั่นต่างๆมาอัพเดตอยู่เสมอ


วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมาของ The Pizza Company



เดอะ พิซซ่า คอมปะนี (อังกฤษ: The Pizza Company) เป็นร้านอาหารประเภทพิซซ่า จัดการโดย The Minor Food Group มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 1981 ครั้งเป็นบริษัทผู้รับเฟรนไชส์ของพิซซ่าฮัทของประเทศไทย ต่อมาในปี 2001 หมดสัญญากับทางพิซซ่าฮัท ทำให้ The Minor Food Group จึงหันมาทำร้านพิซซ่าเป็นของตัวเองในชื่อ "เดอะ พิซซ่า คอมปะนี"
โดยมีแฟรนไชส์ในหลายประเทศ บริหารโดยบริษัทที่กรุงเทพ มีสาขาอย่างเช่นใน คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย จีนฟิลิปปินส์ โปแลนด์

เดอะพิซซ่า คอมปานี เป็นธุรกิจที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากมาย ซึ่งคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับ เดอะพิซซ่า คอมปานีเพราะความมีชื่อเสียงที่โด่งดังมานานมากกว่า 30 ปี เป็นสิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างถึงความมีคุภาพของสินค้า และความมีประสิทธิภาพในการทำงานของผู้บริการที่สามารถพัฒนาคิดค้นสูตรใหม่ๆออกมาสู่ตลาดเสมอ ทำให้ผู้บริโภคนั้นไม่เกิดความเบื่อหน่ายในสินค้าของ เดอะพิซซ่า คอมปานี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความคิดของแต่ละสูตรนั้นมีความอร่อยที่แตกต่างกันไป มีการประยุกต์นำอาหารพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งอาหารขึ้นชื่อของต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับรสชาติอาหารที่ถูกปากคนไทย และการบริการที่เอาใจใส่ลูกค้าเป็นอย่างดีและมีความสม่ำเสมอในการให้บริการนั้นเป็นที่ถูกใจบรรดาลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เดอะพิซซ่า คอมปานี นี้อยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้


เดอะพิซซ่า คอมปานี นั้นเป็นธุรกิจที่มีสาขามากมายกว่า 700 สาขาทั่วประเทศ ซึ่ง เดอะพิซซ่า คอมปานี นั้นเป็นแบรนด์พิซซ่าที่ได้รับความนิยมที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะความอร่อยของสินค้า ความแปลกใหม่ของสินค้า ความใหม่และความสดของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการประกอบก่อนที่จะออกมาเป็นพิซซ่า 1 ถาดที่มีทั้งความอร่อยและคุณภาพ เพราะทางบริษัทถือว่าเรื่องของความสะดากและความสดใหม่ของวัตถุดิบที่จะทำพิซซ่าให้กับผู้บริโภคนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด ซึ่งทำให้ผู้บริโภคนั้นมั่นใจได้เลยว่าพิซซ่าที่คุณได้ทานเช้าไปในทุกๆคำนั้นสะอาดปลอดภัยอย่างแน่นอน นอกจากสินค้าที่มีคุณภาพแล้ว รูปแบบของการตกแต่งร้านหรือลักษณะของการขายนั้นก็สามารถดึงดูดให้ผู้บริโภคนั้นมีความสนใจได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องของการโฆษณาที่น่าสนใจและน่าลิ้มลองจึงทำให้มีผู้บริโภคสนใจและเข้ามาซื้อพิซซ่าของ เดอะพิซซ่า คอมปานี เป็นจำนวนมาก

โซเชียลมีเดีย
เว็ปไซต์

แอพลิเคชั่นทั้ง IOS และ ANDROID

Twitter

โปรโมชั่น
เดือนตุลาคม




กิจกรรมเพื่อสังคม

เดอะ พิซซ่า คอมปะนี มอบเงินสมทบทุนแก่มูลนิธิชัยพัฒนา
        
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา รับมอบเงินสมทบทุนจากการจำหน่ายเซ็ตเมนูรักพ่อโดยหักรายได้จากการจำหน่าย จากจอห์น ไฮเน็คกี้ ประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการ ฮ็อทเชน บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมด้วย สุภัทร์ ไพรสานฑ์กุล ผู้ช่วยรองประธานฝ่ายการตลาด ทั้งในและต่างประเทศ รุ่งนภา ตั้งประเสริฐกิจ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด On-Premise เดอะ พิซซ่า คอมปะนี, บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ชมพรรณ กุลนิเทศ รองประธานฝ่ายบริหารการลงทุน สุกิจ อุทินทุ รองประธานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท ไมเนอร์ โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) และ ดร. ศุลีพร บุญบงการ จูกาวัง เจ้าหน้าที่มูลนิธิชัยพัฒนา ณ มูลนิธิชัยพัฒนา 

ไมเนอร์ กรุ๊ปและเดอะ พิซซ่า คอมปะนี ร่วมส่งเสริมการอ่านเด็กไทย สนับสนุน TK park


สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) หรือ TK park ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ไมเนอร์ กรุ๊ป และ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ร่วมเป็นหนึ่งในภาคีเครือข่ายส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กไทย ในโครงการ “Read Thailand : อ่านเถิด...เด็กไทย อ่านถวายเจ้าฟ้านักอ่านซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือของสอร. ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเป็นเจ้าฟ้านักอ่าน เจ้าฟ้านักประพันธ์ และทรงเป็นครู หรือมิ่งขวัญแห่งการเรียนรู้ ในโอกาสจะทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในปี 2558 ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เด็ก เยาวชนและคนไทยสนใจรักการอ่านมากขึ้น และส่งเสริมสังคมไทยให้เป็น สังคมแห่งการเรียนรู้และรักการอ่าน

Minor Founder's Day


กำหนดให้วันที่ 4 มิ.ย. ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ มร.วิลเลียม ไฮเนคกี้ เป็นวัน Minor Founder's Day ที่เหล่าพนักงานจะลงไปบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมค่ะ โดยในปีนี้ได้ไปจัดกิจกรรมที่ โรงเรียนสิทธิพยากรณ์ อ.วังน้อย จ.อยุธยา ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาต้องประสบภัยน้ำท่วมกว่า 2 เมตร นานกว่า 2 เดือน โดยซ่อมแซมโรงเรียนใหม่ และยังได้ดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่อื่นๆ อีกหลายแห่งด้วยกัน